ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลแก่งดินสอ
๑. ชื่อสถานศึกษา กศน.ตำบลแก่งดินสอ
๒. ที่ตั้ง/การติดต่อ โรงเรียนบ้านท่าสะตือ หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านท่าสะตือ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอ นาดี
จังหวัดปราจีนบุรี รหัสไปรษณีย์ ๒๕๒๒๐
โทร. ๐๘๖-๓๖๘๐๕๓๑
E
– mail : varunee.mee@gmail.com
๓.
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาดี
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดปราจีนบุรี
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
๔.
ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลแก่งดินสอ
๔.๑ ประวัติ กศน.ตำบลแก่งดินสอ
เดิมปี พ.ศ. ๒๕๔๐
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาดี ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลแก่งดินสอ
ขึ้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งดินสอ(สี่แยกไทรทอง) ที่หมู่
๑ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี
จังหวัดปราจีนบุรี
โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
คือ นายสุรสิทธิ์ เหมนาค
เป็นผู้รับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่ตำบลแก่งดินสอ
และมีครูประจำกลุ่มช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในพื้นที่ตำบลแก่งดินสอได้มีการจัดการเรียนการสอนสายสามัญและสายอาชีพ พร้อมทั้งที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน และในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์เฉลิมพระเกียรติ ครบรอบ ๖๐
ปี พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ย้ายสถานที่พบกลุ่มการเรียนการสอนมาตั้งอยู่ที่
โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคาร หมู่ ๕ ตำบลแก่งดินสอ
อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีและในปี 2555 ได้ย้ายสถานที่พบกลุ่มการเรียนการสอนมาตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านท่าสะตือ หมู่ที่ ๑ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
กศน.ตำบลแก่งดินสอ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ
เพื่อให้อ่านออกเขียนได ้การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงาน ทำ
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน
เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชนในการจัดการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลแก่งดินสอ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนจากผู้บริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งดินสอ
และผู้นำท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการในศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลแก่งดินสอ
๔.๒ ทำเนียบบุคลากร
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
|
๑
|
นายสุรสิทธิ์ เหมนาค
|
ครูอาสาสมัครฯ
|
๒๕๔๐ – ๒๕๔๔
|
๒.
|
นายสามยันต์ เหยือกเงิน
|
ครูอาสาสมัครฯ
|
๒๕๔๔ – ๒๕๔๖
|
๓.
|
นายสมชาย จันสมดี
|
ครู ศรช.
|
๒๕๔๖ – ๒๕๔๗
|
๔.
|
นางสาวอัจฉรา
โดยอาสา
|
ครูอาสาสมัครฯ
|
๒๕๔๗ – ๒๕๔๙
|
๕.
|
นางสาวหทัย ร่วมทอง
|
ครู ศรช.
|
๒๕๕๑ - ๒๕๕๒
|
๖.
|
นางสาวโชติกา ชัยชนะ
|
ครู
กศน.ตำบล
|
๒๕๕๒ – ๑ ก.ค.
๒๕๕๖
|
๗.
|
นางสาวารุณี มีเชาว์
|
ครู
กศน.ตำบล
|
๑ ส.ค. ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน
|
๔.๓ พื้นที่รับผิดชอบ
ตำบลแก่งดินสอ
๔.๔ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ ต.ครบุรี
อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อ ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อ ต.บ้านแก้ง อ.เมือง จ.สระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อ ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อ ต.บ้านแก้ง อ.เมือง จ.สระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
๔.๕ สภาพชุมชน
๔.๕.๑ สภาพทั่วไป
๑) ประวัติความเป็นมา
เดิมตำบลแก่งดินสอ เป็นหมู่บ้านขึ้นอยู่กับตำบลทุ่งโพธิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.
2521 ทางราชการเห็นว่า ตำบลทุ่งโพธิ์เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่
จึงได้แบ่งแยก ออกมาเป็นอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 9
หมู่บ้าน คือ บ้านทับไทร บ้านท่าสะตื้อ บ้านวังอ้ายป่อง บ้านบุกล้วย บ้านวังรี บ้านแก่งดินสอ
บ้านเขาขาด บ้านหินเทิน และบ้านบุเจริญ
ปัจจุบันมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 3 หมู่บ้าน คือ
บ้านคลองมะไฟ บ้านอ่างทอง บ้านแก่งใหญ่ โดยใช้ชื่อบ้านแก่งดินสอเป็นชื่อตำบลตลอดมา
การตั้งชื่อของตำบลว่า “แก่งดินสอ” นั้น
เล่าต่อกันมาว่า สมัยก่อนตำบลแก่งดินสอมีหินที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นดินสอเขียนกับกระดานชนวนได้
คนสมัยก่อนไม่มีสมุดไม่มีปากกาจึงมีการนำหินชนวนไปทำเป็นดินสอใช้ขีดเขียนกัน และพบว่าแหล่งที่มีหินประเภทนี้อยู่จำนวนมากก็คือ
หมู่ 6 บ้านแก่งดินสอ บริเวณที่เป็นแก่งมีน้ำไหลผ่าน คนส่วนใหญ่จึงเรียกพื้นที่ตำบลนี้ว่าแก่งดินสอ
และใช้เป็นชื่อของตำบลต่อมา
ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นคนที่อพยพมาจากที่อื่น
คือ โคราช ระยอง อ่างทอง ชลบุรี และจันทร์บุรี คนดั้งเดิมในพื้นที่มีเพียงจำนวนน้อย
คนที่อพยพเข้ามาได้มาก่อตั้งเป็นชุมชนเล็กๆ โดยการประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน
พืชที่ปลูกในพื้นที่ส่วนใหญ่คือ มันสำปะหลัง และยาพารา ต่อมาชุมชนได้มีการขยายใหญ่ขึ้นมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายหมู่บ้าน
และมีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนสามารถพัฒนากลายมาเป็นตำบลแก่งดินสอจนถึงทุกวันนี้
๒) ขนาดพื้นที่
ตำบลแก่งดินสอมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 165,500ไร่ (264ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ประกอบด้วยภูเขา ประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา ส่วนพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย มีประมาณ 44เปอร์เซ็นต์ กระจายอยู่ทั่วไปของตำบล
ตำบลแก่งดินสอมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 165,500ไร่ (264ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ประกอบด้วยภูเขา ประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา ส่วนพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย มีประมาณ 44เปอร์เซ็นต์ กระจายอยู่ทั่วไปของตำบล
๓) ภูมิประเทศ ตำบลแก่งดินสอมีพื้นที่ประกอบด้วยภูเขา ประมาณ
๕๖ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ประกอบด้วย
อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา ส่วนพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย มีประมาณ
๔๔ เปอร์เซ็นต์ กระจายอยู่ทั่วไปของตำบล
๔)
หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในตำบลแก่งดินสอมีทั้งหมด
๑๒ หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้
หมู่ที่
๑
บ้านทับไทร
หมู่ที่
๒
บ้านท่าสะตือ
หมู่ที่ ๓ บ้านวังอ้ายป่อง
หมู่ที่ ๔ บ้านบุกล้วย
หมู่ที่ ๕ บ้านวังรี
หมู่ที่
๖ บ้านแก่งดินสอ
หมู่ที่
๗ บ้านเขาขาด
หมู่ที่
๘ บ้านหินเทิน
หมู่ที่
๙ บ้านราษฎร์เจริญ
หมู่ที่
๑๐ บ้านคลองมะไฟ
หมู่ที่
๑๑ บ้านอ่างทอง
หมู่ที่
๑๒ บ้านแก่งใหญ่
5) สภาพทางสังคม
5.1 การศึกษา
-
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 แห่ง
-
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6 แห่ง
-
ขยายโอกาสถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 แห่ง
-
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- กศน.ตำบล จำนวน 1 แห่ง
-
ที่ อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน
จำนวน 7 แห่ง
5.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
จำนวน 7 แห่ง
5.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชาชนตำบลแก่งดินสอส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธซึ่งมีศาสนสถานที่เป็นที่ปฏิบัติธรรมและใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
-
วัด /
สำนักสงฆ์ จำนวน 16 แห่ง
5.3
การสาธารณสุข
-
สถานบริการส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 3 แห่ง
-
มีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อ.ส.ม.) ประจำหมู่บ้าน 12 หมู่
5.4
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ตู้ยามตำรวจ จำนวน 1 แห่ง
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 191 คน
6) การคมนาคม
-.
ถนนลาดยางภายในตำบล จำนวน 6 สาย
-
ถนนลาดยางผ่านตำบล จำนวน 3 สาย
- ถนนคอนกรีต จำนวน 35 สาย
-
ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน จำนวน 24 หมู่
7) การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน
17 แห่ง
8) การไฟฟ้า
-
มีไฟฟ้าใช้ทั้ง 12 หมู่บ้าน
9) แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ตำบลแก่งดินสอ มีแควโสมงไหลผ่านกลางตำบลและมีคลองและลำห้วยต่างๆ จำนวน 17 แห่ง
10) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายเก็บน้ำขนาดเล็ก จำนวน 18 แห่ง
- สระเก็บน้ำขาดใหญ่ จำนวน
20 แห่ง
- สระเก็บน้ำขนาดเล็กในไร่นา จำนวน 715 แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน 74 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 276 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 31 แห่ง
- คลองส่งน้ำชลประทาน จำนวน 2 แห่ง
- คลองส่งน้ำชลประทาน จำนวน 2 แห่ง
11) ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
- อุทยานแห่งชาติทับลาน
- อุทยานแห่งชาติปางสีดา
- น้ำตกห้วยคำภู
- น้ำตกทุ่งกวาง
- น้ำตกวังมะนาว
- จุดชมวิวบนห้วยโสมง
12) มวลชนจัดตั้ง
-
ลูกเสือชาวบ้าน
-
กลุ่มอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
- กลุ่มสตรีแม่บ้าน
- ตำรวจบ้าน
- กลุ่มอาชีพ
- กลุ่ม อ.ส.ม.
- ชมรมผู้สูงอายุ
13) สภาพภูมิอากาศ
- กลุ่มสตรีแม่บ้าน
- ตำรวจบ้าน
- กลุ่มอาชีพ
- กลุ่ม อ.ส.ม.
- ชมรมผู้สูงอายุ
13) สภาพภูมิอากาศ
ภูมิอากาศมี
3 ฤดู ได้แก่
ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ –
เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน –
เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน –
มกราคม
๕. สภาพทางสังคม-ประชากร
๕.1 ประชากร ประชากรทั้งสิ้น
10,446 คน ชาย 5,181 คน หญิง 5,265คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย คน/ตารางกิโลเมตร
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนหลังคาเรือน
|
จำนวนประชากร
|
||
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|||
1
|
บ้านทับไทร
|
244
|
453
|
432
|
885
|
2
|
บ้านท่าสะตือ
|
212
|
333
|
395
|
728
|
3
|
บ้านวังอ้ายป่อง
|
339
|
491
|
518
|
1,009
|
4
|
บ้านบุกล้วย
|
181
|
306
|
267
|
573
|
5
|
บ้านวังรี
|
205
|
387
|
373
|
760
|
6
|
บ้านแก่งดินสอ
|
267
|
447
|
454
|
901
|
7
|
บ้านเขาขาด
|
276
|
408
|
382
|
790
|
8
|
บ้านหินเทิน
|
391
|
502
|
527
|
1,029
|
9
|
บ้านราษฎร์เจริญ
|
266
|
480
|
505
|
985
|
10
|
บ้านคลองมะไฟ
|
293
|
456
|
485
|
941
|
11
|
บ้านอ่างทอง
|
147
|
182
|
199
|
381
|
12
|
บ้านแก่งใหญ่
|
597
|
736
|
728
|
1,464
|
รวม
|
3,418
|
5,181
|
5,265
|
10,446
|
๕.2 ศาสนา ประชาชนตำบลแก่งดินสอส่วนใหญ่
นับถือศาสนาพุทธ
๖. สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก เช่น
การทำไร่ ทำสวน ทำนา และเลี้ยงสัตว์ พืชที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ยูคาลิปตัส ยางพารา มันสำปะหลัง ไผ่ และผลไม้ต่างๆ ประชากรบางส่วนประกอบอาชีพในภาค อุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ
มีจำนวนน้อยที่รับราชการและประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยสามารถชี้ให้เห็นถึงร้อยละของการประกอบอาชีพของประชากรภายในตำบล ได้ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม
ประมาณร้อยละ 49
- อาชีพลูกจ้างในสถานประกอบการ ประมาณร้อยละ 35
- อาชีพรับจ้างทั่วไป ประมาณร้อยละ 13
- อาชีพธุรกิจส่วนตัว ประมาณร้อยละ 2
- อาชีพรับราชการ ประมาณร้อยละ 1
ด้านพาณิชย์และการตลาด
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 แห่ง
๗. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
ลำดับที่
|
ชื่อ/แห่ลงวิทยากรชุมชน
|
ที่อยู่
|
งาน/กิจกรรม
|
1
|
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
ม.3 ต.แก่งดินสอ
|
หมู่บ้านต้นแบบ
|
2
|
นายสัญญา เล่ห์สิงห์
|
120
ม.2 ต.แก่งดินสอ
|
เกษตรกรต้นแบบ
|
3
|
นางบุญทม อ่อนอรุณ
|
81
ม.2 ต.แก่งดินสอ
|
การผลิตดอกไม้จันทน์
พวงหรีดต่างๆ
|
4
|
นางวร
โพธิ์ชู
|
65
ม.1 ต.แก่งดินสอ
|
การสานเข่งปลาทูไม้ไผ่
|
5
|
นายบุญธรรม ฟื้นฟ้า
|
188
ม.1 ต.แก่งดินสอ
|
สานแห
เครื่องมือจับปลา
|
6
|
นางสว่าง อินทร์บริสุทธิ์
|
89
ม.1 ต.แก่งดินสอ
|
ทำขนมไทย
เช่นขนมบ้าบิ่น ตะโก้ วุ้น ขนมถ้วย
บัวลอย เต้าส่วน
|
7
|
นายถนัด พเยาว์
|
248
ม.9 ต.แก่งดินสอ
|
สานไม้ไผ่
ประเภท สุ่มไก่
|
8
|
นางอัมพร พันเรือง
|
215
ม.3 ต.แก่งดินสอ
|
วิทยากรสอนวิชาการสานเส้นพลาสติก
|
9
|
นางติ๋ม สุริวัน
|
175
ม.7 ต.แก่งดินสอ
|
วิทยากรสอนวิชาข้าวเกรียบปากหม้อ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น